กระเบื้องดินเผามุงหลังคา

172 สัปดาห์ ที่แล้ว - คนดู 160
รูปภาพ กระเบื้องดินเผามุงหลังคา

กระเบื้องดินเผามุงหลังคา

กระเบื้องดินเผามุงหลังคาของไทย


กระเบื้องหลังคาดินเผาของ"ไทย"เรา มีวิธีแบ่งประเภทได้หลายวิธี เช่น 1อาจจะแบ่งตามรูปร่าง 2แบ่งตามวิธีการมุงหลังคา 3แบ่งตามการเคลือบสี
--แบ่งตามการเคลือบสีหรือไม่เคลือบสี ได้ว่า กระเบื้องไม่เคลือบสี และ กระเบื้องเคลือบดินเผา(สีแดง เขียว เหลืองฯ) เท่านั้น

---แบ่งตามรูปร่าง กล่าวได้ว่าเป็นวิธีที่ ใช้เรียกกระเบื้องดินเผาตามลักษณะที่เห็นแต่มักจะต่างกันตามสิ่งที่คุ้นเคยในแต่ละท้องที่

1 รูปร่างเหมือนใบโพธิ์ เรียก กระเบื้องใบโพธิ์

กระเบื้องสุโขทัย

2 มีลอน เรียก กระเบื้องลอน 3 กระเบื้องกาบกล้วยเหมือนกาบกล้วย

กระเบื้องกาบกล้วยกระเบื้องลอนกาบกล้วย

4 มุงแล้วเหมือนเกล็ดปลา เรียกกระเบื้องเกล็ดปลา

กระเบื้องเกล็ดปลา

5 รูปร่างเหมือนว่าวปักเป้า เรียก กระเบื้องว่าว

กระเบื้องว่าวดินเผา

และ วิธีแบ่งประเภทของ กระเบื้องดินเผามุงหลังคา ที่ช่างรุ่นเก่าๆแบ่งไว้ ตามวิธีการมุงหลังคา

ซึ่งน่าจะมีประโยชน์ในการเลือกใช้มากกว่า ได้แก่

กระเบื้องหลังคาดินเผาแบบมุงชั้นเดียว จะใช้กระเบื้องดินเผามุงหลังคาชั้นเดียว บนระแนง(แป)เดียวกัน แต่จะอาศัยแปใกล้กัน(แป ถี่) เพื่อให้กระเบื้องดินเผามุงหลังคาบนระแนงที่ห่างออกไปมาปิดทับรอยต่อไว้ไม่ให้น้ำฝนไหลผ่านลงมา (กระเบื้องดินเผาบนระแนง2แถว ถัดไป หรือนับขึ้นไปได้แถวที่3 จะยังปิดทับรอยต่อของเถวแรก)
กระเบื้องดินเผามุงหลังคาแบบวิธีนี้ได้แก่กระเบื้องเกล็ดปลา ใช้ตัวยาว มุงชั้นเดียวเรืยก กระเบื้องบรื้อ จะเห็นทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ และ กระเบื้องสุโขทัย(ใบโพธิ์)
กระเบื้องดินเผาแบบชั้นเดียวนี้ ถ้าช่างอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะหมายรวมถึง กระเบื้องว่าว และ กระเบื้องลอน(กระเบื้องกาบกล้วย) ด้วย แต่กระเบื้องดินเผามุงหลังคาแบบกระเบื้องว่าวและกระเบื้องลอนจะอาศัยหลักการของ "บ่า หรือ ร่อง" กันน้ำ ของกระเบื้อง ไม่ได้อาศัย แผ่นกระเบื้องดินเผาจาก ระแนง(แป)ถัดไปมาทับซ้อนไว้ อย่างกระเบื้องสุโขทัย(กระเบื้องใบโพธิ์)
ทั้งนี้ อาจเรียกได้ว่า กระเบื้องดินเผามุงหลังคา แบบ กระเบื้องลอน(กระเบื้องกาบกล้วย) กระเบื้องว่าว มีพัฒนาการด้านการออกแบบมากกว่าก็ได้
2 กระเบื้องดินเผาหลังคาแบบมุง 2 ชั้น ใช้วิธีมุงแผ่นกระเบื้อง 2 ชั้นบนแป(ระแนง)เดียวกัน ตามชื่อเรียก โดยอาศัยหลักการเดิมของการมุงหลังคาแป้นเกล็ดไม้ นั้นคือ การซ้อนทับกันของแผ่นกระเบื้องไม่ให้น้ำฝนไหลเข้าระหว่างรอยต่อของแผ่น เช่น กระเบื้องหม่อม ( กระเบื้องดินขอ ) ใช้กระเบื้องหม่อมอีกแผ่นปิดทับรอยต่อของกระเบื้องหม่อมแผ่นล่าง และกระเบื้องเกล็ดปลามุงด้วย การใช้กระเบื้องเกล็ดปลาตัวสั้น ซ้อนทับปิดระหว่างรอยต่อระหว่างกระเบื้องเกล็ดปลาตัวยาว
นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งกระเบื้องดินเผามุงหลังคาหลายวิธี เช่น กระเบื้องดินเผาแบบทำมือ และ กระเบื้องดินเผาปั้มเครื่อง ,หรือแบ่งตามอัตราการดูดซึมน้ำ ซึ่งเป็นการแยกของช่างไทยโดยตรงว่าเป็นกระเบื้องเซรามิกหรือกระเบื้องดินเผา และหากเราแบ่งด้วยวิธีนี้จะช่วยให้ทราบถึงคุณสมบัติการป้องกันความร้อนได้ด้วยเพราะกระเบื้องที่ดูดซึมน้ำน้อยมากๆจะสะสมและนำความร้อนได้ดี เป็นต้น

บทความเพื่อเป็นมรดกทางภูมิปัญาไทย
โดย โรงงานกระเบื้องดินเผาไทย th-tile.com