ใครใช้ให้ไม่บอกก่อน

40 สัปดาห์ ที่แล้ว - คนดู 202
รูปภาพ ใครใช้ให้ไม่บอกก่อน

น้ำใจส่วนน้ำใจ เหตุผลส่วนเหตุผล

เรื่องดีหรือเรื่องร้าย ทางที่ดีบอกกันก่อน

ใครใช้ให้ไม่บอกก่อน

หนังสือดีที่อยากให้ท่านได้อ่าน

"โคตรโกง"

ตำรับโกงที่ไม่อยากให้ท่านถูกโกง

โคตรโกง

เราไม่ได้สอนให้คุณโกง

แต่แนะนำให้คุณเห็นซื้งถึงเลห์โกง


น้ำใจส่วนน้ำใจ

เหตุผลส่วนเหตุผล

เรื่องดีหรือเรื่องร้าย

ทางที่ดีบอกกันก่อน

เสี่ยวลี้ ย้ายจากบ้านเก่าในชนบท พำนักที่อพาร์ทเม้นท์ใจกลางกรุง รู้สึกปลื้มปิติเป็นอันมาก อพาร์ทเม้นท์สูง 18 ชั้น เสี่ยวลี้อยู่ชั้น 17 เวลายืนที่เฉลียง สามารถเห็นวิวทิวทัศน์ของเมืองหลวง

อย่างเดียวที่เป็นปัญหาคือ ดอกไม้ของเสี่ยวลี้ทั้ง 10 กว่ากระถางนั้น เฉลียงหันไปทางทิศเหนือ ไม่เหมาะกับการปลูกดอกไม้ ด้านทิศตะวันออกก็มีแต่หน้าต่าง ไม่มีเฉลียงยื่นออกไป

"ทำไมไม่ทำโครงแขวนดอกไม้สักโครง? ก็แก้ปัญหาได้" มีเพื่อนฝูงเสนอแนะ ซ้ำยังแนะนำเถ้าแก่จางที่รับทำโครงแขวนดอกไม้ให้แก่เสี่ยวลี้

แต่ว่านับตั้งแต่สั่งทำโครงแขวน ถึงแม้ยังไม่ได้ติดตั้ง แต่เสี่ยวลี้ฝันร้ายตลอดเวลา ฝันว่าโครงแขวนไม่มั่นคง กระถางดอกไม้ก็หนัก จู่ๆพังลงมาร่วงลงจากชั้น 17 พอดีหล่นลงบนศีรษะของคนเดินถนน จนเลือดตกยางออก

เสี่ยวลี้ สะดุ้งตื่นขึ้นมา ในสภาพเหงื่อโซมกาย เดินถึงริมหน้าต่างชะโงกศีรษะมองลงไป ถึงแม้เป็นเวลา 2 นาฬิกา ยังมีคนเดินสัญจร ลองนึกดูโครงแขวนหล่นลงไปตอนนี้ ยังทับคนตาย ถ้าเกิดเรื่องตอนกลางวันแสกๆคงมีคนตายจำนวนมาก

นึกถึงตอนนี้เสี่ยวลี้ต้องขนลูกซู่ แต่โครงแขวนสั่งทำแล้ว กระถางดอกไม้ก็ไม่มีที่วาง ดูเหมือนว่าจำต้องแขวนขึ้นไป


☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘.

วันที่ติดตั้งโครงแขวน เสี่ยวลี้อุตส่าห์ลางาน คุมงานอยู่กับบ้าน

เถ้าแก่จางเป็นมืออาชีพจริงๆ อพาร์ทเม้นท์ชั้น 17 เขายื่นขาข้างนึงออกนอกหน้าต่าง นั่งคร่อมอยู่ขอบหน้าต่างอย่างมั่นคง และสั่งลูกมือยกโครงแขวนออกไป ใช้ตะปูคอนกรีต ซึ่งคาบอยู่ในปากก่อน ตอกตรึงกับกำแพง

เถ้าแก่จางเหมือนกับนักมายากล ก่อนหน้านี้ไม่รู้ว่าคาบตะปูคอนกรีตอยู่ในปากกี่ตัว เห็นเขายื่นมือออกก็หยิบตะปูตัวหนึ่ง และไม่รู้ว่าตอกตะปูกี่ตัว จู่ๆก็ข้ามหน้าต่างกลับเข้ามา

"เรียบร้อยแล้ว คุณจัดตั้งกระถางดอกไม้ได้"

"แข็งแรงพอหรือ? กระถางดอกไม้หนักมาก" เสี่ยวลี้ถามอย่างไม่แน่ใจ

"พูดเป็นเล่นไป พวกเรา 3 คนออกไปยืนอยู่บนโครง ยังรับน้ำหนักได้ รับรองว่าภายใน 20 ปีไม่มีปัญหา ถ้ามีอะไรให้ไปหาผม" เถ้าแก่จางรับรองแข่งขัน

"นี่เป็นคุณพูดเอง" เสี่ยวลี้ รีบหากระดาษส่งปากกาให้เถ้าแก่จาง "รบกวนให้คุณเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วเซ็นชื่อกำกับ"

"อะไรนะ ยังต้อง..." เถ้าแก่จางแทบไม่เชื่อหูตัวเอง แต่เสี่ยวลี้ทำหน้าบึ้งพูดว่า

"ถ้าคุณไม่กล้าเขียน แสดงว่าไม่แข็งแรง โครงแขวนหล่นลงไป มีเรื่องราวถึงตาย ของที่ไม่แข็งแรง ผมไม่กล้ารับไว้"

เถ้าแก่จางจำใจเขียนหนังสือรับรอง พอวางปากกาลงก็หันไปสั่งลูกมือ

"หยิบเครื่องไม้เครื่องมือ ออกไปตอกตะปูยาวอีกหลายตัว ถ้ามีปัญหาพวกเรารับเคราะห์แน่"

ทั้งเถ้าแก่กับลูกมือวุ่นวายอีกครึ่งชั่วโมง ตรวจสอบแล้วตรวจสอบอีก ค่อยจากไปอย่างไม่พอใจ


❤ หมายเหตุ ❤

นี่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในกรุงไทเป แต่ตอนหลังเสี่ยวลี้ซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องยังไม่วางใจนึกอยู่ตลอดเวลาว่าเป็นไปได้ไหมว่า ตอนแรกเถ้าแก่จางตอกตะปูคอนกรีตอย่างลวกๆ เมื่อเขาให้เซ็นหนังสือรับรอง ค่อยออกไปซ่อมเสริม?

"ผมกลัวว่าตะปูที่เขาตอกตอนแรกไม่ยาวพอ แต่เมื่อตอกลงไปแล้ว ต่อมาถึงแม้เสริมตะปูใหญ่ ก็ไม่มีที่ให้เสริม ฉะนั้นเสียเวลามากมาย" เสี่ยวลี้บอกกับผม

"ก่อนที่เขาจะตอกตะปูถ้าผมให้เขาเขียนหนังสือรับรองก่อนอาจช่วยให้ดีขึ้น"

คำพูดนี้ "จี้ถึงจุดสำคัญ" และเป็นหัวข้อที่จะถกเถียงกันในบทความนี้

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมสั่งคนงานส่งหนังสือใหม่ที่พิมพ์เสร็จมา หนังสือมีจำนวนมาก วางซ้อนเป็นชั้นๆเพราะว่าซ้อนไม่เรียบร้อย ผมขอให้คนงานอย่าซ้อนสูงเกินไป จะได้ไม่ตกลงมาทำร้ายถูกคน หนังสือหลายพันเล่มวางซ้อนเสร็จแล้ว ผมเห็นคนงานเหงื่อไหลไคลย้อย นอกจากจ่ายค่าขนส่งแล้ว ยังให้ทิปแก่เขาอีกไม่น้อย

คนงานพอได้รับเงินค่าทิป ค่อยพูดกับผมว่า

"ถ้ารู้แต่แรกว่าคุณจะให้ทิปผม สมควรจัดเรียงให้เรียบร้อยกว่านี้"

เขากลับไปหน้ากองหนังสือ จัดนั่นจัดนี่ ปัญหาอยู่ที่หนังสือจัดเสร็จแล้ว จัดใหม่ก็ไม่มีประโยชน์

เรื่องนี้ให้บทเรียนแก่ผมว่า

ในประเทศนี้ไม่มีประเพณีให้ค่าทิป ฉะนั้นเวลาให้ทิป หรือยื่นผลประโยชน์ใด ทางที่ดีบอกล่วงหน้า อีกอย่างหนึ่งบทลงโทษที่สมควรพูดล่วงหน้า อย่างแรกเรียกว่า "เรื่องดีบอกให้รู้ก่อน" อย่างหลังเรียกว่า "เรื่องร้ายบอกกล่าวล่วงหน้า"


☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘

คนมีนิสัยแปลกมาก เกี่ยวกับเรื่องในด้านลบพวกเราจะตั้งข้อสมมุติว่า "ถึงแม้เราทำไม่ดี อีกฝ่ายหนึ่งอาจมองไม่เห็น ต่อให้มองเห็น ก็อาจจะผ่อนผัน"

ส่วนเรื่องที่เป็นด้านบวก พวกเราก็จะตั้งข้อสมมุติว่า "ถึงแม้เราทำดี อีกฝ่ายหนึ่งอาจมองไม่เห็น ต่อให้มองเห็น ก็คงไม่ให้รางวัลพิเศษ"

ด้วยความคิดพื้นฐานนี้ คนทั่วไปเวลาทำงานอะไร จะไม่ดีเกินไป และไม่เลวเกินไป ถ้าหากคุณต้องการให้ผลออกมาดี หรือไม่ถึงกับ "เลวอยู่บ้าง" วิธีที่ดีที่สุดคือแสดงออกก่อน

ยกตัวอย่างธรรมดาที่สุดสัก 2 เรื่อง

ถ้าหากคุณแบกสัมภาระที่กลัวตกแตก และหนักมากเข้าโรงแรม ถึงแม้ว่าค่าทิปจะให้ในตอนท้าย แต่เวลาคุณไปถึงโรงแรม เพิ่งก้าวลงจากรถ ให้พูดกับบริกรว่า "รบกวนคุณเคลื่อนย้ายอย่างระวังหน่อย อีกสักครู่ผมจะสมนาคุณให้"

ผมเคยร่วมรายการทัวร์คณะหนึ่ง มีสามีภรรยาสูงอายุผู้หนึ่ง ทุกครั้งที่เข้าพักโรงแรม มักถูกจัดให้พักห้องที่เห็นวิวสวยที่สุด เมื่อรายการทัวร์ทั้ง 10 กว่าวันสิ้นสุดลง ผมจึงถามที่เล่นจริงๆว่า "พวกคุณคงพูดกับหัวหน้าไกด์ว่า จะให้ค่าทิปเขาเพิ่ม จึงโชคดีเป็นพิเศษ?"

นึกไม่ถึงคุณผู้ชายสูงอายุยิ้มออกมา

"พวกเราไม่ได้พูด ไม่อย่างนั้นถือว่า 'ให้สินบนล่วงหน้า' แต่ว่าพวกเราทำให้เขารู้สึกได้"

"รู้สึกได้?"

"ใช่" คุณผู้ชายสูงอายุกระซิบ "จะบอกให้รู้ เมื่อคุณเริ่มรายการทัวร์ ก็ให้ทิปแก่พนักงานเสิร์ฟหรือคนขับรถ ต่อหน้าหัวหน้าไกด์ คนเหล่านั้นความจริงไม่ต้องให้ทิปแต่ว่าคุณควักเงินให้ เมื่อได้เห็นก็รู้แก่ใจ"

จริงซี่ เมื่อคนคนหนึ่งคาดหวัง หรือแน่ใจว่าคุณจะให้รางวัลพิเศษ จะต้องแสดงออกอย่างแข่งขัน การบอกใบ้ของสามีภรรยาสูงอายุผู้นี้ ถือเป็นศิลปะชั้นสูงทีเดียว

เล่าถึงตอนนี้ ขอยกตัวอย่างตรงกันข้ามนั่นคือ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้รางวัลตามที่คุณคาดไว้ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นเวลาให้ผลตอบแทน

ตัวอย่างที่เห็นบ่อยที่สุดคือ พวกเราเวลาขอให้เครือญาติช่วยเหลือ ไม่เพียงแต่ไม่ดี อาจยังแย่มาก ขณะเดียวกันตอนที่พวกเราช่วยเหลือเครือญาติ ก็ไม่จัดอยู่ในลำดับแรก

เหตุผลธรรมดามาก

1. เมื่อเป็นเครือญาติ ต่อให้ทำเรื่องเสียก็ยังเป็นเครือญาติ

2. เมื่อเป็นเครือญาติ ไม่สะดวกกับการให้ค่าตอบแทน ถึงแม้มอบให้ ก็ไม่สะดวกกับการรับไว้

ปัญหาอยู่ที่พื้นฐานใจคอของคนคือ เอื้อประโยชน์กันและกัน เมื่อคุณตั้งข้อสมมติฐานดังกล่าว 2 ข้อจะบังเกิดผลที่ดีได้อย่างไร เมื่อถึงเวลาส่งมอบ ผลที่ออกมาพื้นเพธรรมดา ถือว่าไม่เลวแล้ว

ฉะนั้นพวกเรามักเห็นเรื่องอย่างนี้เกิดขึ้น

นาย ก. ขอให้เครือญาติช่วยเหลือหลังจากลากถ่วงเวลา ทำเสร็จอย่างลวกๆ นาย ก. จะมอบเงินให้ เครือญาติจะปฏิเสธ นาย ก. ยืนกรานมอบให้ บอกว่า "จะทำงานเปล่าได้ยังไง? ต้องรับไว้"

สุดท้ายเครือญาติรับเงินไว้ นาย ก. พอลับหลังจะพูดว่า "ญาติโยมอะไร ทั้งคิดแพง ผลงานก็ออกมาเลว"

หารู้ไหมว่าเครือญาติคนนั้นก็นึกเสียใจ "ถ้ารู้แต่แรกว่าเขาจะให้เงิน ซ้ำยังจ่ายเต็มจำนวน ตอนแรกควรช่วยเขาให้ดี"

เหตุการณ์เช่นนี้มักเกิดขึ้นในสังคมเอเชีย ควรที่พวกเราจะทบทวนให้ดีว่า ระหว่างหลักการ ค่าตอบแทน บทลงโทษสมควรแยกออกมาจาก น้ำใจหรือไม่? ตรงตามคำที่ว่า

"น้ำใจส่วนน้ำใจ เหตุผลส่วนเหตุผล"

เรื่องดีเรื่องร้ายต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

นี่ไม่ใช่สังคมที่คาดเดาไปคาดเดามา หากแต่เป็นสังคมที่ทำงานหนึ่งส่วนรับค่าแรงหนึ่งส่วน

เรื่องสมควรพูดให้กระจ่าง ถ้าหากพูดให้กระจ่างเสียแต่แรกเรื่องราวจะดีพร้อมมากกว่า



☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘ โคตรโกง ☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘☘