ข่าวสารควรรู้
Crypto Currency บันทึกบัญชีอย่างไร
Cryptocurrency คืออะไร?
Cryptocurrency คือโทเค็นดิจิทัลที่ไม่มีตัวตน ที่บันทึกด้วยวิธีบล็อกเชน (Blockchain) หรือ Distributed Ledger Technology (DLT) ซึ่งก็คือ ระบบบันทึกรายการธุรกรรมดิจิทัลบนคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในเวลาเดียวกัน
โทเค็นเหล่านี้ให้สิทธิต่างๆในการใช้งาน เช่น เป็นสกุลเงินดิจิทัลได้รับการออกแบบให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน, โทเค็นดิจิทัลอื่น ๆ ให้สิทธิ์ในการใช้งานทรัพย์สินหรือบริการอื่น ๆ, หรือสามารถแสดงถึงความเป็นเจ้าของได้
โทเค็นเหล่านี้เป็นของกิจการที่เป็นเจ้าของกุญแจ (Key) ที่ทำให้สามารถบันทึกธุรกรรมใหม่เข้าไปในระบบได้ การบันทึกธุรกรรมใหม่นี้ส่งผลให้มีการเปลี่ยนมือเจ้าของโทเค็น โทเค็นเหล่านี้ไม่ได้เก็บอยู่ในระบบ IT ของกิจการ เนื่องจากกิจการจะจัดเก็บเฉพาะ Key ในการทำบล็อกเชนเท่านั้น (ไม่ใช่ในการเก็บโทเค็น)
โทเค็นเหล่านี้แสดงถึงทรัพยากรดิจิทัลที่กิจการมีสิทธิ์ควบคุมและมีสิทธิ์มอบหมายการควบคุมใหม่ให้กับบุคคลที่สามได้
มาตรฐานการบัญชีใดที่อาจใช้ในการบัญชีสำหรับสกุลเงินดิจิทัล
ในตอนแรกอาจดูเหมือนว่า cryptocurrency ควรถูกบันทึกเป็นเงินสด เนื่องจากเป็นรูปแบบของเงินดิจิทัล อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรจะพิจารณาสกุลเงินดิจิทัล Cryptocurrency ว่ามีลักษณะทางบัญชีเทียบเท่ากับสกุลเงินสด ตามที่กำหนดไว้ใน TAS 7 และ TAS 32 เนื่องจากไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าหรือบริการใด ๆ ได้ในทันที
แม้ว่าจะมีกิจการจำนวนมากขึ้นที่ยอมรับชำระเงินด้วยสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) แต่สกุลเงินดิจิทัลก็ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในประเทศไทย ว่าสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้จริง และยังไม่ถือว่าเป็นการชำระเงินตามกฎหมาย กิจการอาจเลือกที่จะยอมรับสกุลเงินดิจิทัลเป็นรูปแบบการชำระเงิน แต่ยังไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดบังคับให้รับชำระด้วยสกุลเงินดิจิทัลนี้
TAS 7 กำหนดรายการเทียบเท่าเงินสดเป็น “การลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้ง่ายและมีความเสี่ยงเล็กน้อยจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่า” ดังนั้นสกุลเงินดิจิทัลจึงไม่สามารถจัดประเภทเป็นรายการเทียบเท่าเงินสดได้เนื่องจากมีความผันผวนของราคาอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นจึงไม่ปรากฏว่าสกุลเงินดิจิทัลแสดงถึงเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดที่สามารถนำมาใช้จ่ายได้ตาม TAS 7
แล้วเราควรจะมอง cryptocurrency เป็นรายการประเภทไหนดีล่ะ?
ดูเผินๆแล้วเราคงคิดว่า cryptocurrency ควรถูกบันทึกเป็นสินทรัพย์ทางการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรหรือขาดทุน (FVTPL) ตาม TFRS 9 อย่างไรก็ตาม cryptocurrency นั้นไม่เป็นไปตามคำจำกัดความของเครื่องมือทางการเงิน เนื่องจากไม่แสดงถึงเงินสด, ส่วนได้เสียในกิจการ, หรือสัญญาที่กำหนดสิทธิหรือหน้าที่ในการส่งมอบหรือรับเงินสดหรือตราสารทางการเงินอื่น ๆ และ Cryptocurrency ก็ไม่ใช่ตราสารหนี้และไม่ใช่ตราสารทุน (แม้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลอาจอยู่ในรูปแบบของตราสารทุนได้) เพราะ cryptocurrency ไม่ได้แสดงถึงความเป็นเจ้าของในกิจการ ดังนั้นจึงไม่ควรถือว่า cryptocurrency เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน
สรุปแล้ว cryptocurrency นั้นเป็นไปตามคำจำกัดความของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนตาม TAS 38 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน มาตรฐานนี้กำหนดให้สินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็น สินทรัพย์ที่ไม่ใช่ตัวเงินที่สามารถระบุตัวตนได้โดยไม่มีเนื้อหาทางกายภาพ (จับต้องไม่ได้)
TAS 38 ระบุว่าสินทรัพย์นั้น สามารถระบุตัวตนได้ หากแยกออกจากกันได้ หรือเกิดขึ้นจากสิทธิ์ตามสัญญาหรือตามกฎหมายอื่น ๆ สินทรัพย์สามารถแยกออกจากกันได้ หากสามารถแยกออกจากกิจการ และขายโอน, อนุญาตให้เช่า, หรือแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นรายบุคคลหรือร่วมกับสัญญาที่เกี่ยวข้องสินทรัพย์หรือหนี้สินที่สามารถระบุตัวตนได้
นอกจากนี้ cryptocurrency ยังมีความสอดคล้องกับ TAS 21 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงในอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งระบุว่าคุณลักษณะที่สำคัญของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ตัวเงิน คือการไม่มีสิทธิที่จะได้รับ (หรือข้อผูกมัดในการส่งมอบ) จำนวนหน่วยคงที่หรือกำหนดได้ ของสกุลเงิน
ดังนั้นดูเหมือนว่า cryptocurrency มีลักษณะที่ตรงตามคำจำกัดความของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนใน TAS 38 เนื่องจากสามารถแยกออกจากกิจการผู้เป็นเจ้าของ และขายหรือโอนทีละรายการได้ และตาม TAS 21 เนื่องจาก ผู้ถือ cryptocurrency นั้นไม่มีสิทธิในการได้รับ จำนวนหน่วยของสกุลเงินคงที่หรือกำหนดได้
สกุลเงินดิจิทัล cryptocurrency สามารถซื้อขายได้ด้วยการแลกเปลี่ยน ดังนั้นอาจมองได้ว่ากิจการจะได้รับประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต แต่ว่ามูลค่าของ cryptocurrency นั้นมีความไม่แน่นอนเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงไม่ถือว่ามีลักษณะเป็นตัวเงิน Cryptocurrencies เป็นเงินในรูปแบบดิจิทัล ที่ไม่มีเนื้อหาทางกายภาพ ดังนั้นการจัดประเภทที่เหมาะสมที่สุดคือสินทรัพย์ไม่มีตัวตน