ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพนักสืบเอกชน(ประเทศไทย) www.spythailand.com

455 สัปดาห์ ที่แล้ว - คนดู 3,718
  • ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพนักสืบเอกชน(ประเทศไทย) www.spythailand.com รูปที่ 1
รายละเอียด
ประวัติการก่อตั้ง ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพนักสืบเอกชน(ประเทศไทย)
เริ่มจากทางกระทรวงยุติธรรมร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลหน่วยงานภาคเอกชน อาชีพนักสืบเอกชน
ณ ห้องสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ชั้น 4 อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
วิทยากรในการบรรยายมี 2 ท่านคือ
ศาสตราจารย์วีระพงษ์ บุญโญภาส รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หัวหน้าโครงการวิจัย และ อาจารย์เดชา กิตติวิทยานันท์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ นักวิจัยหลักการและเหตุผล
ปัจจุบันแนวโน้มการผลักดันให้ผู้ปฏิบัติงานหรืออาชีพในระบวนการยุติธรรมมีคุณภาพและมาตรฐาน
ในระดับที่ถือว่าเป็นวิชามีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากหน่วยงานในระบวนการยุติธรรมต่างก็เล็งเห็น
ว่าผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนยุติธรรมได้นั้น นอกจากจะต้องผ่านการเรียน การฝึกอบรม
ให้มีความสามารถเพียงพอที่จะอำนวยความยุติธรรมแล้วอาชีพในกระบวนการยุติธรรม
ยังส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่จำเป็นจะต้องมีการกำกับดูแล
และพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานของบุคลากรเหล่านี้ให้สามารถอำนวยความยุติธรรม
ให้แก่ประชาชนได้อย่างแท้จริง แต่ในปัจจุบันกลับมีเพียงไม่กี่อาชีพเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับ
ว่ามีความเป็นวิชาชีพและมีสถาบันหรือสภาวิชาชีพในการกำกับดูแลการประกอบอาชีพนั้น
ได้แก่ ผู้พิพากษา ทนายความ ฯลฯ ในขณะที่ยังมีผู้ปฏิบัติงานในอาชีพอื่น ๆ
ของ กระบวนการยุติธรรมอีกมากมายทั้งภาครัฐและเอกชนที่ยังขาดกลไกหรือหน่วยงาน
ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลและควบคุมมาตรฐานอย่างจริงจัง
การกำกับดูแลยังเป็นลักษณะการควบคุมภายในหน่วยงานที่ตนเองสังกัดอยู่เท่านั้น
ซึ่งเป็นลักษณะต่างคนต่างทำและขาดระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่ชัดเจน
เราจึงพบว่ามีหลาย ๆ อาชีพในกระบวนการยุติธรรมเริ่มจะผลักดันให้อาชีพตนมีความเป็นวิชาชีพ
มากยิ่งขึ้น โดยความพยายามที่จะเสนอกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินงานของหลาย ๆ อาชีพ
เพื่อยกระดับสู่ความเป็นวิชาชีพ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ รวมไปถึงอาชีพของภาพเอกชนต่าง ๆ
ที่มีผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรม เช่น อาชีพรักษาความปลอดภัย นักสืบเอกชน
นักประเมินราคาทรัพย์สิน อาสาสมัครมูลนิธิต่าง ๆ ก็ได้มีความพยายามในการเสนอกฎหมาย
เพื่อรองรับให้อาชีพของตนมีความเป็นวิชาชีพมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ประเทศไทย
ก็ยังไม่มีระบบหรือแนวงทางที่ชัดเจนต่อการกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
กับกระบวนการยุติธรรมโดยภาพรวม
อย่างไรก็ตาม ในหลายประเทศต่างก็ตระหนักว่าระบบกฎหมายและงานยุติธรรมที่มีประสิทธิภาพ
และมาตรฐานเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคม
ของประเทศ โดยแต่ละประเทศก็จะมีรูปแบบและวิธีการในการกำกับดูแลที่แตกต่างกันไป
เช่น ในหลายมลรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา มีหน่วยงานกลางของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับดูแล
ส่งเสริม ออกใบอนุญาต เพิกถอนใบอนุญาตการประกอบอาชีพ วิชาชีพหรือการประกอบธุรกิจ
ในกระบวนการยุติธรรมหรือที่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมทั้งกำหนดว่าอาชีพประเภทใดที่สมควรจะต้องมีการกำกับดูแล ขณะที่อีกหลาย ๆ ประเทศ
ใช้การจัดกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมออกเป็นหมวดหมู่
และให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจโดยตรงในการควบคุมอาชีพนั้น ๆ
ทำหน้าที่กำกับดูแล
นอกจากนี้คณะอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการ
ภายใต้กรอบของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ยังได้มีมติให้เพิ่มเติมแนวทาง
การกำกับดูแลภาคเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรมลงในแผนแม่บท
ว่าด้วยการพัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม พร้อมทั้งให้มีการศึกษาเพิ่มเติมถึงเหตุผล
และความจำเป็นของอาชีพของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมในประเทศไทย
ที่สมควรจะต้องมีการกำกับดูแล
รวมทั้งแนวทางการกำกับดูแล และการพัฒนามาตรฐานผู้ปฏิบัติงานในอาชีพนั้นแล้วเสนอ
ให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาต่อไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นและความสำคัญ
ในการที่จะต้องมี่ระบบหรือแนวทางเพื่อกำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม
ไม่ว่าจะเป็นอาชีพในภาครัฐหรือภาคเอกชนก็ตามสำนักงานกิจการยุติธรรม
จึงเห็นควรให้มีการศึกษาเปรียบเทียบรูแบบการดำเนินงานของหน่วยงาน องค์กร
หรือการดำเนินงานในลักษณณะที่ทำหน้าที่กำกับดูแลผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง
ในกระบวนการยุติธรรม เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างระบบหรือแนวทางในการกำกับดูแล
และพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยต่อไป
ข้อที่ต้องพิจารณามีดังนี้
1.ควรจะต้องมีทำเนียมจรรยาบรรณ (จากองค์กรที่เป็นกลาง) เหมือนวิชาชีพอื่นหรือไม่เพียงใด
อ.เดชา แสดงความคิดเห็นว่าการมีทำเนียบและจรรยาบรรณของนักสืบเป็นเรื่องที่จำเป็น
และควรมีวิธีการบริหารจัดการเหมือนสภาวิชาชีพหนังสือพิมพ์ , ทนายความ, วิศวกร , สถาปนิก
2.ควรจะต้องตั้งองค์กรกลางเข้ามาควบคุมดูแลผู้ประกอบวิชาชีพหรือไม่ เช่น สถาบันนักสืบเอกชน
หรือ สมาคมนักสืบเอกชน อ.เดชา แสดงความคิดเห็นว่า ควรจะเริ่มต้นรวมตัวกันในลักษณะหลวม ๆ
อย่าใช้กฎระเบียบบังคับ เพราะจะเกิดการต่อต้าน และให้นักสืบทุกคนเลือกตัวแทน
ไปจดทะเบียนเป็นสมาคมหรือชมรมในเบื้องต้นก่อน
3.หลักสูตรการเรียนการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นนักสืบ จะต้องกำหนดเป็นการเฉพาะ
อย่างเป็นทางการหรือไม่ หรือควรจะบรรจุในหลักสูตรของสถาบันการศึกษาประเภทใดหรือไม่
อ.เดชา แสดงความคิดเห็นว่า หลักสูตรนักสืบเอกชนควรให้นักสืบเอกชนเป็นผู้จัดฝึกอบรม
มากกว่านักสืบของทางราชการ เพราะมีฐานการคิดที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะตำรวจ
มีฐานการคิดจากผู้ที่มีอำนาจตามป.วิอาญา แต่นักสืบเอกชนมาจากฐานการคิดที่เป็นเอกชน
ซึ่งปราศจากอำนาจตามกฎหมาย ส่วนจะบรรจุไว้ในสถานศึกษาหรือไม่อย่างไรนั้นเห็นว่า
ในขณะนี้ยังไม่จำเป็น ควรรอให้สังคมเห็นความสำคัญของนักสืบก่อน
4.ควรต้องมีใบอนุญาต(License) ในการประกอบวิชาชีพนักสืบเอกชน
ต่างหากจากใบอนุญาตว่าความ หรือใบอนุญาตอื่นใดหรือไม่ อ.เดชา แสดงความคิดเห็นว่า
การออกใบอนุญาตนักสืบควรเป็นหน้าที่ของประธานชมรมนักสืบหรือประธานสมาคมนักสืบ
หน่วยงานของรัฐไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้อง ควรให้นักสืบดูแลกันเอง และไม่ควรออกใบอนุญาต
ในนามนิติบุคคล ควรออกใบอนุญาตให้กับนักสืบเป็นรายบุคคล
หลังจากที่ได้ประชุมและศึกษาแนวทางแล้ว ผู้ประกอบอาชีพนักสืบเอกชนในประเทศไทยจึงมีมติ
ให้มีการจดทะเบียนจัดตั้งเป็น ชมรมผู้ประกอบวิชาชีพนักสืบเอกชน(ประเทศไทย) ในขั้นตอนแรกก่อน
และในอนาคตอาจจะมีการจดทะเบียนเป็น สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพนักสืบเอกชน(ประเทศไทย)
ในส่วนผู้บริหารชมรมฯ ทางที่ประชุมมีมติแต่งตั้งให้ นายเพลิง พระประแดง
ดำรงตำแหน่งประธานชมรมฯ และเป็นผู้จดทะเบียนชมรมฯ และควบคุมดูแลกิจการต่างๆของชมรมฯ
หลังจากนั้น นายเพลิง พระประแดง ได้ทำการจดทะเบียนชมรมฯเป็นที่แล้วเสร็จ
และได้แต่งตั้งให้ นายประทีป เจริญพระประแดง เป็นรองประธานชมรมฯ