วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (the mable temple) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนาขึ้น
รายละเอียด
"วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม" เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อ "วัดแหลม" เนื่องจากอยู่ปลายแหลมส่วนที่ต่อกับทุ่งนา และมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "วัดไทรทอง" ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่าสร้างมาตั้งแต่เมื่อใด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ในปี พ.ศ. 2372 จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพิพิธโภคภูเบนทร์ พระนามเดิมพระองค์เจ้าพนาวัน พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้สนภาลัย และเจ้าจอมมารดาศิลา ทรงเป็นแม่ทัพในการรักษาพระนคร ได้ทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม
หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์มีพระประสงค์จะปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมพระอนุชา และพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพิทักษ์เทเวศร์ (พระองค์เจ้าชายกุญชร ต้นราชสกุลกุญชร), พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (พระองค์เจ้าชายทินกร ต้นราชกุล ทินกร), พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศื ทรงกร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม ซึ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดเบญจมบพิตร" ซึ่งหมายถึง "วัดของเจ้านาย 5 พระองค์"
ใน พ.ศ. 2441 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสวนดุสิต โดยใช้วัดดุสิตเป็นที่สร้างพลับพลา และใช้สถานที่วัดสร้างตัดถนน ซึ่งต้องสร้างวัดขึ้นทดแทนตามประเพณี ได้ทรงเลือกวัดเบญจมบพิตรเป็นวัดที่ทรงสถาปนาตามพระราชดำริว่า "การสร้างวัดใหม่หลายวัดยากต่อการบำรุงรักษา ถ้ารวมเงินสร้างวัดเดียวให้เป็นวัดใหญ่ และทำโดยฝีมือประณีตจะดีกว่า จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ เป็นผู้ทรงออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถ และถาวรวัตถุอื่นๆ และมีพระยาราชสงคราม (กรมกงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง และเริ่มสปาปนาวัดในปี พ.ศ. 2442 และโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนามราม" เพื่อให้คล้องกับพระราชวังดุสิตที่ทรงสร้างขึ้นใหม่