กวาวเครือขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pueraria mirifica Airy Shaw et Suvatab. เป็นพืชตระกูลถั่ว (วงศ์ Leguminosae)

674 สัปดาห์ ที่แล้ว - คนดู 577
  •   กวาวเครือขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pueraria mirifica Airy Shaw et Suvatab. เป็นพืชตระกูลถั่ว (วงศ์ Leguminosae) รูปที่ 1
รายละเอียด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์        กวาวเครือขาว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pueraria mirifica Airy Shaw et Suvatab. เป็นพืชตระกูลถั่ว (วงศ์ Leguminosae) ขึ้นในป่าเบญจพรรณ บนพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 250-800 เมตรในป่าสูงทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย      เป็นไม้เถาเลื้อย พาดพันต้นไม้ใหญ่ เป็นไม้ผลัดใบ ขนาดกลาง เถายาวประมาณ 5 เมตร ลำต้นเกลี้ยง เปลือกนอกของลำต้นมีสีน้ำตาลเข้มและค่อนข้างแข็ง มีหัวใต้ดินขนาดใหญ่ทำหน้าที่สะสมอาหาร ลักษณะ ค่อนข้างกลม และคอดยาวเป็นตอนๆต่อเนื่องกัน กิ่งอ่อน ยอดอ่อน ก้านช่อดอก และกลีบเลี้ยง มีขนสั้นๆ ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 10-38 ซม. ใบย่อยใบกลางรูปไข่ กว้าง 9-15 ซม. ยาว 15-30 ซม. ปลายมนถึงเรียวแหลม โคนสอบถึงมน ใบย่อยคู่ข้างขนาด ใกล้เคียงกับใบกลาง ปลายมนถึงเรียวแหลม โคนเบี้ยว ด้านบนใบเกลี้ยง ด้านล่างมีขนสั้นๆ ประปราย ก้านใบย่อยยาว 5-7 มม. ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ยาว 20-30 ซม. ดอกมีรูปร่าง คล้ายดอกแคขนาดเล็ก สีน้ำเงินอมม่วง ออกเป็นกระจุกในระยะผลัดใบ ดอกมีกลีบเลี้ยงยาว 6-7 มม. โคนติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 4 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ สีม่วงอมน้ำเงินอ่อน กลีบนอกสุดมีขนาดใหญ่ กลีบคู่กลางค่อนข้างกลม งอโค้ง กลีบคู่ในสุดติดกันเป็นรูปท้องเรือห่อเกสรเอาไว้ เกสรตัวผู้มี 10 อันแต่ส่วนก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกัน ฝักแบน รูปขอบขนาน ผิวเกลี้ยงหรือ มีขนสั้นประปราย กว้าง 7 มม. ยาว 3 ซม. กลายเป็นสีน้ำตาล เมื่อแก่ มีเมล็ด 3-5 เมล็ด กวาวเครือแดง คาดว่าคือ Butea superba Roxb. ในวงศ์ Leguminosae เช่นเดียวกัน     สรรพคุณทางการแพทย์แผนไทยและแพทย์พื้นบ้าน   จากตำรายาหัวกวาวเครือของหลวงอนุสารสุนทรกล่าวว่า  กวาวเครือมี 4 ชนิด คือ      กวาวเครือขาว เป็นไม้เถา ขึ้นกับต้นไม้หรือเลื้อยไปบนดิน ก้านใบหนึ่งมี 3 ใบ ใบเล็กกว่าชนิดแดง หัวคล้ายมันแกว ขนาดของหัวจะขึ้นอยู่กับลักษณะดิน การใช้ทำยาให้เลือกหัวแก่ เอามีดปาดดูจะมียางสีขาวคล้ายน้ำนม เนื้อเปราะ มีเส้นมาก      กวาวเครือแดง เมื่อถูกสะกิดที่เปลือกหัวจะมียางสีแดงคล้ายเลือดไหลออกมา เมื่อใช้ทำเป็นยา ชนิดแดงแรงกว่าชนิดขาว      กวาวเครือดำ ลำต้นและเถาเหมือนกวาวเครือแดง แต่ใบและหัวมีขนาดเล็กกว่า มียางสีดำ ใช้ทำเป็นยามีฤทธิ์แรงมาก ขนาดที่ใช้น้อยมาก      กวาวเครือมอ ทุกส่วน ต้น เถา ใบ หัว เหมือนกับชนิดดำ แต่เนื้อในหัวและยางสีมอๆ ค่อนข้างจะหายาก เช่นเดียวกับชนิดดำ มีหัวเล็กขนาดมันเทศ พืชที่เหมือนกวาว จะมีต้นเหมือนกวาวเครือ ใบเล็ก หัวเล็ก ก้านใบหนึ่งมี 7 ใบ ปลายใบไม่แหลม เหมือนกวาวเครือ พม่าเรียกว่า “วินอู่” ไทย เรียกต่างๆกันไป ชนิดนี้รับประทานแล้วทำให้ลำไส้บวมถึงตายได้ อีกชนิดหนึ่ง เหมือนกวาวเครือแดง มีรากคล้ายหัว มียางแดงคล้ายเลือด กินแล้วจะให้โทษ        ข้อสำคัญที่ตำราเน้นคือต้องรู้จักต้นยาให้ดี ถ้าไม่รู้จักเถา ต้น หัว ใบ ของยาแล้วไปเอาพืชอื่น ที่คล้ายกับกวาวมาทำเป็นยา นอกจากไม่ได้รับคุณประโยชน์แล้ว อาจเป็นโทษทำให้ตายได้     สรุปสรรพคุณของกวาวเครือตามตำรายาไทย    -เป็นยาอายุวัฒนะสำหรับผู้สูงอายุใช้ได้ทั้งหญิงและชาย (คนหนุ่มสาวห้ามรับประทาน) ทำให้กระชุ่มกระชวย  -ทำให้ผิวหนังเหี่ยวย่นกลับเต่งตึงมีน้ำมีนวล  -ช่วยเสริมอก กระตุ้นเต้านมขยายตัว โดยเฉพาะกวาวเครือขาว  -ช่วยให้เส้นผมที่หงอกกลับดำ และเพิ่มปริมาณเส้นผม  -แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก  -ทำให้ความจำดี  -ทำให้มีพลัง การเคลื่อนไหวการเดินเหินจะคล่องแคล่ว  -ช่วยบำรุงโลหิต  -ช่วยให้รับประทานอาหารมีรสชาติอร่อย [b]สบู่ใสกวาวเครือ ปลีก-ส่ง ชมสินค้าได้ที่ http://i--make.weloveshopping.com