หัวเชื้อจุลินทรีย์ บิวซีน่า (Beausiana) หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเวอร์เรีย "บิวซีน่า" 6 in 1
686 สัปดาห์ ที่แล้ว
- คนดู 570
รายละเอียด
หัวเชื้อจุลินทรีย์ บิวซีน่า (Beausiana) - 300.00 -
หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเวอร์เรีย "บิวซีน่า" 6 in 1 ประกอบด้วย บิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า , เมธาไรเซี่ยม แอนิโซเฟียและพาซิโลมัย ,บาซิลลัส สับทิลิส , ไตรโคเดอร์มา ฮาเซียนั่ม ,คีโตเมี่ยม โกลบรัสซั่ม
หัวเชื้อจุลินทรีย์ บิวซีน่า ประกอบไปด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ บิวเวอร์เรีย บาสเซียน่า , เมธาไรเซี่ยม แอนิโซเฟียและพาซิโลมัย ที่นำมาป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงหวี่ขาว เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจั่น หนอนกอ หนอนห่อใบ แมลงสิง แมลงหล่า ด้วงหมัดผัก ทั้งช่วงวัยอ่อนและวัยแก่ รวมทั้งกำจัดไข่เพลี้ยหนอน
ขั้นตอนการเข้าทำลายของหัวเชื้อจุลินทรีย์ บิวซีน่า นั้นจะแทรกเข้าไปตามเนื้อเยื่อที่อ่อนๆ หรือตามของเหลวในตัวเพลี้ยหรือหนอนต่างๆ และเจริญเติบโตออกมาข้างนอกเมื่อพร้อมที่จะแพร่สปอร์ สปอร์จะมีสีขาวขุ่น เมื่อแมลงสัมผัสเชื้อ หลังจากสัมผัสเชื้อ 3 วัน แมลงจะเริ่มป่วยและหยุดทำลายพืชและจะตายภายในระยะเวลา 5-14 วัน
นอกจากนี้ยังเพิ่ม หัวเชื้อจุลินทรีย์ บาซิลลัส สับทิลิส , ไตรโคเดอร์มา ฮาเซียนั่ม ,คีโตเมี่ยม โกลบรัสซั่ม
ประโยชน์ของการกำจัดโรคพืชทางดิน
-ช่วยป้องกันและกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียทางดินที่เป็นสาเหตุ โรคเน่า โรคเหี่ยว โรคยุบ
-ช่วยละลายปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ถูกดินยึดไว้ ( ด้วยการปล่อยกรดอินทรีย์ ) ให้กลับมาเป็นประโยชน์กับพืชอีกครั้ง โดยปรกติปุ๋ยที่ใส่ลงดิน 100% พืชจะนำไปใช้ได้เต็มที่เพียง 20% อีก 80% จะถูกดินยึดไว้
-ปุ๋ยฟอสฟอรัสมีประจุเป็นลบ จะทำปฏิกิริยาธาตุอาหารที่มีประจุบวก เช่น แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม แมงกานีส เหล็ก สังกะสี ทำให้ตกตะกอนและไม่เป็นประโยชน์กับพืช แต่กรดอินทรีย์ที่จุลินทรีย์ปล่อยออกมาจะไปครอบธาตุอาหารที่มีประจุบวก ทำให้ทั้ง ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุที่มีประจุบวก คือ แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม แมงกานีส เหล็ก สังกะสี เป็นประโยชน์กับพืชพร้อมๆกัน เรียกทางวิชาการว่าปฏิกิริยา”คีเลชั่น”
-จุลินทรีย์ช่วยปล่อยฮอร์โมนที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช 3 กลุ่มคือ ออกซิน จิบเบอร์เรอลิน และ ไซโตคินิน ซึ่งพืชก็สร้างได้เองอยู่แล้ว ทำให้พืชได้ฮอร์โมนเพิ่มขึ้นจากจุลินทรีย์ด้วยอีกทาง การเจริญเติบโตของพืชจะเพิ่มขึ้น
-ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินทำให้ธาตุอาหารพืชทั้ง 13 ธาตุละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น และทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำ และ อากาศได้ดี เพราะกรดอินทรีย์มีประจุลบและอนุภาคดินก็มีประจุลบ ทำให้ผลักกันอนุภาคของดินก็จะแยกออกจากกัน ทำให้ดินร่วนซุย
ประโยชน์ของการกำจัดโรคพืช ทางใบ
- กรณี หน้าฝน การฉีดสารเคมีทางใบ ถ้าฝนตกจะทำให้น้ำฝนชะล้างสารเคมีออกไปหมด จำเป็นต้องฉีดใหม่ ถ้าฉีด บิวซีน่า ขอปลอดฝน 2-3 ชั่วโมง จะป้องกันโรคทางใบได้โดยไม่ต้องฉีดซ้ำ โดยเน้นฉีดทั้งใต้ใบและบนใบ ควรผสมสารจับใบหรือซุปเปอร์ สปีด จะดีมาก
-กรณี โรคแบคทีเรีย ทางใบ เช่น โรคใบเน่าพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น ผักกาดขาวปลี กะหล่ำปลี โรคแคงเกอร์ ตระกูลส้ม มะนาว เช่น ส้มโอ ส้มเขียวหวาน มะนาว เป็นต้น โรคใบขีดโปร่งแสงข้าว และ ฯลฯซึ่งไม่มีสารเคมีตัวไหนมีประสิทธิ์ภาพป้องกันและกำจัดโรคแบคทีเรียทางใบได้ดี แต่ “บิวซีน่า” ช่วยป้องกันและกำจัด โรคแบคทีเรียทางใบได้ดี
- โรคราและแบคทีเรีย ทั้งทางใบและทางดิน จะไม่แสดงอาการดื้อยากับ “บิวซีน่า” เหมือนที่แสดงอาการดื้อยากับสารเคมี ถ้าฉีดบ่อยๆซ้ำกันเกิน 3 ครั้งโดยไม่สลับเป็นสารเคมีตัวอื่น ดังนั้นสามารถใช้ “บิวซีน่า” ได้ตลอดโดยไม่ต้องเปลี่ยนตัวยา หรือจะใช้สลับกับสารเคมีก็ได้ เพื่อป้องกันเชื้อโรคดื้อยา
วิธีการใช้
1. แช่ หัวเชื้อจุลินทรีย์ บิวซีน่า ทั้ง 2 ซอง ในน้ำ ปริมาณ 2 ลิตร ประมาณ 5-8 ชั่วโมง เพื่อให้เชื้อขยายตัวก่อนหากใช้ปริมาณน้อยให้ใช้อย่างละ50 กรัม(3 ช้อนแกง) แช่น้ำ 500 ซีซี แล้วจึงนำไปฉีดพ่น
2. การนำไปฉีดพ่นควรผสมยาจับใบด้วยทุกครั้ง บิวซีน่า ขนาด 500 กรัมที่แช่น้ำไว้ใช้ผสมน้ำ 200 ลิตร ถ้า 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร
3. การฉีดพ่นควรเป็นช่วงเช้า หรือช่วงเย็นช่วงแดดอ่อน ฉีดให้เปียกชุ่มทั้งบนใบ ใต้ใบและลำต้น
4. ระยะเวลาในการฉีดพ่น หากพบการระบาดให้ฉีดพ่น 3 วัน/ครั้ง ติดต่อกัน 2-3 ครั้ง หากระบาดไม่มากให้ฉีดพ่น 10-20 วัน
ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ หัวเชื้อจุลินทรีย์ บิวซีน่า ร่วมกับยาฆ่าเชื้อรา สารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืชต่าง ๆ
หัวเชื้อจุลินทรีย์บิวเวอร์เรีย
tarad.com, เกษตรอินทรีย์,โอทูฟลาโวเจน,โอทู,กำจัดเพลี้ยแป้ง,เพลี้ยแป้ง,เพลี้ยกระโดด,ปุ๋ยอินทรีย์,ยาฆ่าหญ้าอินทรีย์,สารชีวภาพ,ฟลาโวนอยด์,ชีวะภาพกำจัดวัชพืช,สารกำจัดศัตรูพืชอินทรีย์,ไตรโคเดอร์มา,บิวเมธาซินัส,เมธาไรเซี่ยม,สารทาหน้ายาง,ถาดเพาะกล้านาโยนกล้า,ถาดเพาะกล้าข้าวสำหรับนาโยนกล้า,ชาเจียวกู้หลาน,เจียวกู่หลาน,ชาสมุนไพรเจียวกู่หลาน,จามิน่า,จุลีนทรีย์สลายฟางข้าว,โอทูฟลาโวก้า,ฟลาโวก้า,ฟลาโวนิน,จุลีนทรีย์เพื่อสิ่งแวดล้อม,หัวเชื้อจุลีนทรีย์