https://www.trebs.ac.th/
valuation
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ทรัพย์สินทางปัญญาที่หลายๆคนเห็นอยู่ทั่วๆไปนั้น แท้จริงแล้วตัวเจ้าของทรัพย์นสินทางปัญญานั้น สามารถนำออกมาประเมินมูลค่าเพื่อที่จะทราบมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองได้ ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้สรุปวิธีการประเมินค่าไว้ดังนี้
1. การประเมินมูลค่าจากต้นทุน (Cost approach)
การประเมินมูลค่าจากต้นทุนของทรัพยสินทางปัญญา เป็นการนำเอาต้นทุนจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นมูลค่าของสิ่งประดิษฐ์ สินค้า บริการหรือแบรนด์ของสินค้า ตั้งแต่ต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงต้นทุนจากค่าแรง ค่าบุคลากร ค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ต้นทุนการจัดทำต้นแบบสินค้า/บริการ ต้นทุนการทดสอบและทดลอง ตลอดจนต้นทุนการดำเนินการทางกฎหมาย
เช่น การออกใบอนุญาต เป็นต้น ทั้งนี้ การประเมินมูลค่าจากต้นทุนมีความเหมาะสมกับทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีในช่วงแรกของการพัฒนาเท่านั้น ซึ่งแนวทางในการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการวิเคราะห์จากต้นทุนดังกล่าว เป็นวิธีการที่ง่ายกว่าแนวทางการประเมินอื่น ๆ หากแต่มูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้จะไม่สะท้อนมูลค้าที่จะทำให้เกิดประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างแท้จริง
2. การประเมินมูลค่าจากการเปรียบเทียบราคาตลาด (Market approach)
การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาตลาด คือ การประเมินมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่มีการซื้อขายหรือให้เช้าในตลาด วิธีการดังกล่าวค้อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาค่อนข้างเป็นความลับ
ไม่ค่อยมีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จึงทำให้ยากต่อการเปรียบเทียบคุณลักษณะเพื่อประเมินมูลค่า และข้อจำกัดอีกประการ คือ หากผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวเป็นลักษณะที่มีความเฉพาะตัว (niche market) การหาข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบมีความเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้น วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการเปรียบเทียบราคาตลาดจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
AP101
3. การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีรายได้ (Income approach)
การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีนี้ เป็นการประเมินจากกระแสรายได้ในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากการถือครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมในวงการธุรกิจ เพราะสะท้อนผลตอบแทนที่จะเกิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าวิธีการประเมินจากต้นทุน รวมทั้งข้อมูลที่นำมาใช่ในการประเมินมูลค่าเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนธุรกิจอยู่แล้ว จึงทำให้ง่ายต่อการประเมิน ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใช้ประกอบการประเมินดังกล่าวอาจประกอบด้วย จำนวนรวมของกระแสรายได้ในอนาคต
อัตราการเติบโตหรืออัตราการเสื่อมของกระแสรายได้ในอนาคต รวมทั้งระยะเวลาในการสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา อย่างไรก็ดีปัจจัยสำคัญของการประเมินมูลค่าจากรายได้คือ ความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้มูลค้าที่ได้มีความแกว่งตัวสูงกว่าการประเมินจากต้นทุน ดังนั้น การประเมินมูลค่าจากรายได้จึงจำเป็นต้องคิดจากมูลค้าทางรายได้ที่เป็นปัจจุบัน (Net present value)
ดังนั้นจากข้อกำหนดดังกล่าว ทาง บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (www.area.co.th) มีบริการประเมินค่าทรัพย์สินที่ครบวงจร สามารถที่จะทำการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญหาให้กับท่านได้ หรือแม้แต่ทรัพย์สินอื่นๆก็สามารถที่จะประเมินค่าได้เช่นกัน
AREA
สามารถติดต่อและสอบถามบริการ AREA (ประเมิน-วิจัย) และ TREBS (อบรม-สัมมนา)
โทร : 02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย)
Email : lek@trebs.ac.th
Line ID : @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e
ขอขอบคุณที่มา: AREA แถลง ฉบับที่ 483/2565: วันพฤหัสบดีที่ 07 กรกฎาคม 2565
[Tag] : ประเมินค่าทรัพย์สิน , นักประเมินค่าอสังหาฯ , ประเมินค่าอสังหาฯ , ประเมินมูลค่าอสังหาฯ , ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ , ประเมินค่าทรัพย์สินมืออาชีพ , ประเมินค่าทรัพย์สินทางปัญญา
หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า ทรัพย์สินทางปัญญาที่หลายๆคนเห็นอยู่ทั่วๆไปนั้น แท้จริงแล้วตัวเจ้าของทรัพย์นสินทางปัญญานั้น สามารถนำออกมาประเมินมูลค่าเพื่อที่จะทราบมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองได้ ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้สรุปวิธีการประเมินค่าไว้ดังนี้
1. การประเมินมูลค่าจากต้นทุน (Cost approach)
การประเมินมูลค่าจากต้นทุนของทรัพยสินทางปัญญา เป็นการนำเอาต้นทุนจากการได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญามาใช้เป็นมูลค่าของสิ่งประดิษฐ์ สินค้า บริการหรือแบรนด์ของสินค้า ตั้งแต่ต้นทุนในการวิจัยและพัฒนา รวมถึงต้นทุนจากค่าแรง ค่าบุคลากร ค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ต้นทุนการจัดทำต้นแบบสินค้า/บริการ ต้นทุนการทดสอบและทดลอง ตลอดจนต้นทุนการดำเนินการทางกฎหมาย
เช่น การออกใบอนุญาต เป็นต้น ทั้งนี้ การประเมินมูลค่าจากต้นทุนมีความเหมาะสมกับทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีในช่วงแรกของการพัฒนาเท่านั้น ซึ่งแนวทางในการประเมินมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการวิเคราะห์จากต้นทุนดังกล่าว เป็นวิธีการที่ง่ายกว่าแนวทางการประเมินอื่น ๆ หากแต่มูลค้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้จะไม่สะท้อนมูลค้าที่จะทำให้เกิดประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างแท้จริง
2. การประเมินมูลค่าจากการเปรียบเทียบราคาตลาด (Market approach)
การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาตลาด คือ การประเมินมูลค่าของทรัพย์สินทางปัญญาจากราคาของทรัพย์สินทางปัญญาที่มีลักษณะหรือคุณสมบัติที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันที่มีการซื้อขายหรือให้เช้าในตลาด วิธีการดังกล่าวค้อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน เนื่องจากทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละชิ้นมีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาค่อนข้างเป็นความลับ
ไม่ค่อยมีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา จึงทำให้ยากต่อการเปรียบเทียบคุณลักษณะเพื่อประเมินมูลค่า และข้อจำกัดอีกประการ คือ หากผลิตภัณฑ์หรือทรัพย์สินทางปัญญาดังกล่าวเป็นลักษณะที่มีความเฉพาะตัว (niche market) การหาข้อมูลเพื่อนำมาเปรียบเทียบมีความเป็นไปได้น้อยมาก ดังนั้น วิธีการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยการเปรียบเทียบราคาตลาดจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก
AP101
3. การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีรายได้ (Income approach)
การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาด้วยวิธีนี้ เป็นการประเมินจากกระแสรายได้ในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากการถือครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมในวงการธุรกิจ เพราะสะท้อนผลตอบแทนที่จะเกิดจากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าวิธีการประเมินจากต้นทุน รวมทั้งข้อมูลที่นำมาใช่ในการประเมินมูลค่าเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนธุรกิจอยู่แล้ว จึงทำให้ง่ายต่อการประเมิน ทั้งนี้ ข้อมูลที่ใช้ประกอบการประเมินดังกล่าวอาจประกอบด้วย จำนวนรวมของกระแสรายได้ในอนาคต
อัตราการเติบโตหรืออัตราการเสื่อมของกระแสรายได้ในอนาคต รวมทั้งระยะเวลาในการสร้างรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา อย่างไรก็ดีปัจจัยสำคัญของการประเมินมูลค่าจากรายได้คือ ความเสี่ยงและต้นทุนทางการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะทำให้มูลค้าที่ได้มีความแกว่งตัวสูงกว่าการประเมินจากต้นทุน ดังนั้น การประเมินมูลค่าจากรายได้จึงจำเป็นต้องคิดจากมูลค้าทางรายได้ที่เป็นปัจจุบัน (Net present value)
ดังนั้นจากข้อกำหนดดังกล่าว ทาง บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (www.area.co.th) มีบริการประเมินค่าทรัพย์สินที่ครบวงจร สามารถที่จะทำการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญหาให้กับท่านได้ หรือแม้แต่ทรัพย์สินอื่นๆก็สามารถที่จะประเมินค่าได้เช่นกัน
AREA
สามารถติดต่อและสอบถามบริการ AREA (ประเมิน-วิจัย) และ TREBS (อบรม-สัมมนา)
โทร : 02-295-3905 ต่อ 114 (K.สัญชัย)
Email : lek@trebs.ac.th
Line ID : @trebs หรือคลิก https://line.me/R/ti/p/%40tfw7135e
ขอขอบคุณที่มา: AREA แถลง ฉบับที่ 483/2565: วันพฤหัสบดีที่ 07 กรกฎาคม 2565
[Tag] : ประเมินค่าทรัพย์สิน , นักประเมินค่าอสังหาฯ , ประเมินค่าอสังหาฯ , ประเมินมูลค่าอสังหาฯ , ประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ , ประเมินค่าทรัพย์สินมืออาชีพ , ประเมินค่าทรัพย์สินทางปัญญา