พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องวาล์ว ประเภทและหน้าที่การทำงานทั่วไป
67 สัปดาห์ ที่แล้ว
- กรุงเทพมหานคร - เขตคลองสามวา - คนดู 10
สวัสดีค่ะลูกค้า pneumaticplace ทุกท่าน วันนี้มาพบกับแอดมินอีกครั้ง รอบนี้เราจะมาคุยเรื่อง “วาล์วนิวเมติกส์ (Pneumatic Valve)” ว่าคืออะไร มีอะไร และทำหน้าที่อะไรบ้าง
วาล์วนิวเมติกส์ (Pneumatic Valve) คือลิ้นควบคุมชนิดต่าง ๆ ในระบบนิวเมติกส์ ทำหน้าที่ในการเริ่มและหยุดการทำงานของวงจร ควบคุมทิศทางการไหลของลมอัด ควบคุมอัตราการไหลของลมอัดและควบคุมความดัน วาล์วนิวเมติกส์ (Pneumatic Valve) ในระบบนิวเมติกส์พื้นฐานจะแบ่งเป็นวาล์วควบคุมต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.) วาล์ควบคุมทิศทาง (Directional control valves) หรือที่เรียกกันว่า โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) มีหน้าที่ในการควบคุมทิศทางลม สั่งงานด้วยขดลวดไฟฟ้า (Electric Coil) วาล์วชนิดนี้สามารถ เปิด-ปิด การไหลของลมได้อย่างแม่นยำ นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในงานด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งตามบ้านเรือน
2.) วาล์วลมอัดไหลทางเดียว (non-return valves) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของลมอัดให้ไหลผ่านทางเดียว สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
2.1) วาล์วกันกลับ (check valve) หรือลิ้นกันกลับเป็นลิ้นที่ยอมให้ลมไหลผ่านเพียงแค่ทางเดียว มีทั้งแบบที่มีสปริงและไม่มีสปริงภายใน
2.2) วาล์วลมเดียว (shuttle valve) จะเป็นวาล์วที่มีทางต่อลมเข้าได้สองทางแต่มีทางออกเพียงทางเดียว วาล์วประเภทนี้จะสามารถควบคุมลมออกได้หลายทาง เมื่อมีลมเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ข้างที่มีความดันลมอัดสูงจะดันลูกปืนไปปิดทางลมที่ต่ำกว่า แล้วผลักดันไว้ไม่ให้ลมอัดรั่วจากนั้นก็จะส่งลมออกไปใช้งาน
2.3) วาล์วทิ้งลมเร็ว (quick exhaust valve) หรือลิ้นเร่งระบาย ช่วยให้ลมภายในออกจากกระบอกสูบได้เร็วเพื่อเพิ่มความเร็วลูกสูบ โดยจะประกอบไว้ทางระบายลมใกล้กระบอกสูบที่สุดให้ระบายลมออกสู่ภายนอกได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านท่อยาง
2.4) วาล์วความดันสองทาง (two pressure valve) วาล์วประเภทนี้จะคล้าย วาล์วลมทางเดียว ต่างกันตรงที่ต้องมีลมเข้ามาทั้งสองทางจึงจะมีลมอัดออกไปใช้งาน
3.) วาล์วควบคุมความดัน (Pressure control valves) ทำหน้าที่ควบคุมความดันสูงสุดของระบบควบคุมการทำงานของปั๊ม ปรับความดันให้ได้ตามต้องการ ซึ่งวาล์วประเภทนี้ที่เป็นที่นิยมใช้ ได้แก่ วาล์วจำกัดความดัน (Relief valve) ทำหน้าที่จำกัดความดันในระบบ ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากความดันที่สูงเกินไป และวาล์วลดความดัน (Pressure reducing valve) ทำหน้าที่ในการปรับลดความดันตามที่ปรับตั้งเอาไว้
4.) วาล์วควบคุมอัตราการไหล (Flow control valves) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณการไหลของลมอัดที่จะส่งไปยังระบบนิวเมติกส์ให้คงที่ สามารถควบคุมความเร็วของก้านสูบในขณะทำงานได้ โดยติดตั้งท่อทางลมอัดที่ต่อเข้าระหว่างกระบอกสูบกับวาล์วควบคุมทิศทาง
5.) วาล์เปิด-ปิด และวาล์วผสม (Shut-off valves and Valve combination) วาล์วเปิด-ปิด (Shut-off valves) เป็นวาล์วควบคุมแบบสองทิศทาง ใช้ควบคุมการปิด-เปิดการไหลของลม ส่วนวาล์วผสม (Valve combination) เป็นวาล์วที่นำวาล์วนิวเมติกส์มารวมกัน วาล์วผสมนี้มีอยู่หลายแบบ เช่น วาล์วหน่วงเวลา (time delay valve) วาล์วกำเนิดการสั่น (vibrative impulse generator valve) หรือวาล์วชุดควบคุมการป้อน (air control block)
เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับเรื่อง “วาล์วนิวเมติกส์ (Pneumatic Valve)” ในวันนี้แอดมินคงสามารถให้ข้อมูลได้แค่คร่าว ๆ เท่านั้น หากลงข้อมูลให้ลึกและละเอียดกว่านี้ แอดมินอาจจะสับสนและผิดพลาดได้ค่ะ ก็เลยขอเสนอเป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อยไว้แลกเปลี่ยนกัน โอกาสถหน้าเรามาดูกันว่าแอดมินจะนำเรื่องอะไรมาเสนออีก ยังไงก็คอยติดตามกันนะคะ
วาล์วนิวเมติกส์ (Pneumatic Valve) คือลิ้นควบคุมชนิดต่าง ๆ ในระบบนิวเมติกส์ ทำหน้าที่ในการเริ่มและหยุดการทำงานของวงจร ควบคุมทิศทางการไหลของลมอัด ควบคุมอัตราการไหลของลมอัดและควบคุมความดัน วาล์วนิวเมติกส์ (Pneumatic Valve) ในระบบนิวเมติกส์พื้นฐานจะแบ่งเป็นวาล์วควบคุมต่าง ๆ ได้ดังนี้
1.) วาล์ควบคุมทิศทาง (Directional control valves) หรือที่เรียกกันว่า โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) มีหน้าที่ในการควบคุมทิศทางลม สั่งงานด้วยขดลวดไฟฟ้า (Electric Coil) วาล์วชนิดนี้สามารถ เปิด-ปิด การไหลของลมได้อย่างแม่นยำ นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในงานด้านอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งตามบ้านเรือน
2.) วาล์วลมอัดไหลทางเดียว (non-return valves) ทำหน้าที่ควบคุมการไหลของลมอัดให้ไหลผ่านทางเดียว สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท คือ
2.1) วาล์วกันกลับ (check valve) หรือลิ้นกันกลับเป็นลิ้นที่ยอมให้ลมไหลผ่านเพียงแค่ทางเดียว มีทั้งแบบที่มีสปริงและไม่มีสปริงภายใน
2.2) วาล์วลมเดียว (shuttle valve) จะเป็นวาล์วที่มีทางต่อลมเข้าได้สองทางแต่มีทางออกเพียงทางเดียว วาล์วประเภทนี้จะสามารถควบคุมลมออกได้หลายทาง เมื่อมีลมเข้าข้างใดข้างหนึ่ง ข้างที่มีความดันลมอัดสูงจะดันลูกปืนไปปิดทางลมที่ต่ำกว่า แล้วผลักดันไว้ไม่ให้ลมอัดรั่วจากนั้นก็จะส่งลมออกไปใช้งาน
2.3) วาล์วทิ้งลมเร็ว (quick exhaust valve) หรือลิ้นเร่งระบาย ช่วยให้ลมภายในออกจากกระบอกสูบได้เร็วเพื่อเพิ่มความเร็วลูกสูบ โดยจะประกอบไว้ทางระบายลมใกล้กระบอกสูบที่สุดให้ระบายลมออกสู่ภายนอกได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านท่อยาง
2.4) วาล์วความดันสองทาง (two pressure valve) วาล์วประเภทนี้จะคล้าย วาล์วลมทางเดียว ต่างกันตรงที่ต้องมีลมเข้ามาทั้งสองทางจึงจะมีลมอัดออกไปใช้งาน
3.) วาล์วควบคุมความดัน (Pressure control valves) ทำหน้าที่ควบคุมความดันสูงสุดของระบบควบคุมการทำงานของปั๊ม ปรับความดันให้ได้ตามต้องการ ซึ่งวาล์วประเภทนี้ที่เป็นที่นิยมใช้ ได้แก่ วาล์วจำกัดความดัน (Relief valve) ทำหน้าที่จำกัดความดันในระบบ ป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากความดันที่สูงเกินไป และวาล์วลดความดัน (Pressure reducing valve) ทำหน้าที่ในการปรับลดความดันตามที่ปรับตั้งเอาไว้
4.) วาล์วควบคุมอัตราการไหล (Flow control valves) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณการไหลของลมอัดที่จะส่งไปยังระบบนิวเมติกส์ให้คงที่ สามารถควบคุมความเร็วของก้านสูบในขณะทำงานได้ โดยติดตั้งท่อทางลมอัดที่ต่อเข้าระหว่างกระบอกสูบกับวาล์วควบคุมทิศทาง
5.) วาล์เปิด-ปิด และวาล์วผสม (Shut-off valves and Valve combination) วาล์วเปิด-ปิด (Shut-off valves) เป็นวาล์วควบคุมแบบสองทิศทาง ใช้ควบคุมการปิด-เปิดการไหลของลม ส่วนวาล์วผสม (Valve combination) เป็นวาล์วที่นำวาล์วนิวเมติกส์มารวมกัน วาล์วผสมนี้มีอยู่หลายแบบ เช่น วาล์วหน่วงเวลา (time delay valve) วาล์วกำเนิดการสั่น (vibrative impulse generator valve) หรือวาล์วชุดควบคุมการป้อน (air control block)
เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับเรื่อง “วาล์วนิวเมติกส์ (Pneumatic Valve)” ในวันนี้แอดมินคงสามารถให้ข้อมูลได้แค่คร่าว ๆ เท่านั้น หากลงข้อมูลให้ลึกและละเอียดกว่านี้ แอดมินอาจจะสับสนและผิดพลาดได้ค่ะ ก็เลยขอเสนอเป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อยไว้แลกเปลี่ยนกัน โอกาสถหน้าเรามาดูกันว่าแอดมินจะนำเรื่องอะไรมาเสนออีก ยังไงก็คอยติดตามกันนะคะ